อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Protection)

                                 
                                                                                                

  • 10.jpg

  • 501.jpg
    - แผ่นกรองฝุ่นละออง เบอร์ 5N11 : แผ่นกรองฝุ่น ละออง ฟูมโลหะ - ฝาครอบ เบอร์ 501 : ฝาครอบแผ่นกรองฝุ่นละออง เบอร์ 5N11 - ฐานรอง เบอร์ 502 : ฐานรองแผ่นกรองฝุ่นละออง เบอร์ 5N11 - แผ่นกร...

  • 0000.jpg
    สำหรับหน้ากาก 3M รุ่น 7700Kตลับกรอง 3M 7001K-55 : ป้องกันไอระเหยสารอินทรีย์: บรรจุผงถ่านกัมมันต์ 55 cc.ตลับกรอง 3M 7001K-100 : ป้องกันไอระเหยสารอินทรีย์: บรรจุผงถ่านกัมมันต์ 100cc....

  • 000000.jpg
    - รายละเอียดสินค้า ตัวตลับทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ทำจากพลาสติก บรรจุสารดูดซับสารเคมี ตัวตลับไส้กรองประกอบเข้ากับหน้ากากด้วยระบบเขี้ยวล็อค - มาตรฐานสินค้า: NIOSH APPROVE - ควรเลือกชนิด...
อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Protection)
อุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันระบบหายใจมีหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น หน้ากากอนามัย, หน้ากาก N95, หน้ากากกันฝุ่น หรือหน้ากากป้องกันสารเคมี  จะเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับหน้างาน เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งมาตรฐานจะมีแตกต่างกันออกไป เช่น NIOSH N95, EN149 FFP1,2,3 หรือมาตรฐาน GB KN95 นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร อธิบายความแตกต่างของแต่ละมาตรฐานดังนี้

NIOSH ย่อมาจาก National Institute for Occupational Safety and Health
เป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการวิจัย และเป็นผู้อนุมัติอุปกรณ์ช่วยป้องกันระบบหายใจให้กับ U.S OSHA

N95 – ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 95%
N99 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 99%
N100 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 99.97%
R95 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 95% กันน้ำมันได้
P95 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 95% กันน้ำมันได้ดีมาก

P99 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 99% กันน้ำมันได้ดีมาก
P100 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 99.97%

 

และเมื่อเทียบกันฝั่งทาง Europe มาตรฐาน EN149 จะแบ่งเป็น 3 ชนิด FFP1, FFP2, FFP3 แต่ระอันจะเหมาะสมใช้ในแต่ละหน้างาน
FFP1 – สามารถกรองได้ 80% ไม่สามารถกรองอนุภาคเคมีที่เป็นสารพิษได้
FFP2 – สามารถกรองได้ 94% สามารถกรองควัน ละอองที่เป็นพิษ
FFP3 – สามารถกรองได้ 99% สามารถกรองควัน ละอองที่เป็นพิษอันตราย เชื้อโรค ไวรัส กัมมันตภาพรังสี

 





ข้อปฏิบัติในการใช้หน้ากาก ประเภทที่ทำให้อากาศสะอาด ก่อนเข้าสู่ทางเดินหายใจ
1.เลือกขนาดหน้ากากให้เหมาะ เพื่อไม่ให้มีช่องว่างระหว่างหน้าหน้ากาก
2.เลือกวัสดุกรองอนุภาค หรือตลับกรองมลพิษ (Cartridges) ให้เหมาะสมกับชนิดมลพิษที่ต้องการกรอง
3.ตรวจสอบรอยรั่ว หรือช่องว่าง ที่ทำให้อากาศเข้าไปในหน้ากาก
   โดยทดสอบ negative pressure และ positive pressure
- วิธีทดสอบ negative pressure โดยใช้ฝ่ามือปิดทางที่อากาศเข้าให้สนิท แล้วหายใจเข้า ตัวหน้ากากจะยุบลงเล็กน้อย และคงค้างไว้ในสภาพนั้นประมาณ 10 วินาที แสดงว่า ไม่มีรอยรั่วที่อากาศจะไหลเข้าไปในหน้ากากได้
- วิธีทดสอบ positive pressure โดยการปิดลิ้นอากาศออก แล้วค่อยๆ หายใจออก ถ้าเกิดความดันเพิ่มขึ้น ในหน้ากากแสดงว่า หน้ากากไม่มีรอยรั่ว
4.ขณะสวมหน้ากาก หากได้กลิ่นก๊าซหรือไอระเหย ควรเปลี่ยนตลับกรอง หรือกระป๋องกรองมลพิษทันที


ข้อปฏิบัติในการใช้อุปกรณ์ป้องกันทางหายใจ แบบส่งอากาศจากภายนอกเข้าไปในหน้ากาก

1.ตรวจอุปกรณ์ทุกส่วนให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนใช้งาน
2.ปรับอัตราการไหลของออกซิเจนให้เหมาะสม หน้าปัทม์บอกปริมาณออกซิเจน ควรอยู่ในสภาพที่ผู้สวมใส่สามารถเห็นได้ชัดเจน
3.ขณะสวมหน้ากากอยู่ หากได้กลิ่นสารเคมี ควรรีบออกจากบริเวณนั้นทันที
4.ควรมีท่อสำรอง และสารช่วยชีวิตในกรีฉุกเฉิน หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้น เช่น ท่อนำส่งอากาศชำรุด เป็นต้น
5.ผู้สวมใส่ต้องได้รับการฝึกอบรมวิธีการใช้งานมาเป็นอย่างดี
6.ต้องมีการบำรุงรักษาที่ดี เช่น ตรวจสอบถังอากาศ เครื่องควบคุมความดัน และการไหลเวียนของอากาศ ตามคำแนะนำของผู้ผลิต

การทำความสะอาดหน้ากาก (Facepieces)

1.ถอดส่วนกรองอากาศ เช่น ตลับ หรือกระป๋องบรรจุสารเคมีออกจากตัวหน้ากาก นำหน้ากากไปล้างด้วยน้ำอุ่น และสบู่ โดยใช้แปรงนิ่มๆ ขัดเบาๆ

2.นำไปฆ่าเชื้อโรคโดยจุ่มลงในสารละลาย ไฮโปคลอไรท์ 2 นาที แล้วตามด้วยน้ำสะอาด ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง

3.ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้เข้าที่ และตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนเก็บ โดยเก็บในที่สะอาด ไม่ปนเปื้อนฝุ่นสารเคมี หรือถูกแสงแดด

Visitors: 123,970