อุปกรณ์ป้องกันมือ/เพิ่มประสิทธิภาพงาน (Hand Protection)

                  
    อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection Equipment)   
 ในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ส่วนของมือ นิ้วมือ และแขน ซึ่งอาจเสี่ยงต่ออันตรายจากการถูกวัตถุมีคม บาด ตัด การขูดขีดทาให้ผิวหนังถลอก การจับของร้อน หรือการใช้มือสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอื่น ๆ นั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน โดยใช้ถุงมือหรือเครื่องสวมเฉพาะนิ้วชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับลักษณะของงานดังนี้

  1. ถุงมือใยหิน ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสความร้อนเพื่อป้องกันมิให้มือได้รับอันตรายจากความร้อนหรือไหม้
  2. ถุงมือใยโลหะ ใช้สำหรับงานที่เกี่ยวกับการใช้ของมีคม ในการหั่น ตัด หรือสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่แหลมคม หยาบมาก
  3. ถุงมือยาง ใช้สาหรับงานไฟฟ้า และถุงมือยางที่สวมทับด้วยถุงมือหนังชนิดยาว เพื่อป้องกันการถูกของมีคมบาดหรือทิ่มแทงทะลุ สาหรับใช้ในงานไฟฟ้าแรงสูง
  4. ถุงมือยางชนิดไวนีลหรือนีโอพรีน ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีชนิดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือซึมผ่านผิวหนังได้
  5. ถุงมือหนังใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสวัสดุที่หยาบ งานที่มีการขัดผิว การแกะสลัก หรืองานเชื่อมที่มีความร้อนต่ำ
  6. ถุงมือหนังเสริมใยเหล็ก ใช้สำหรับงานหลอมโลหะหรือถลุงโลหะ
  7. ถุงมือผ้าหรือเส้นใยทอ ใช้สำหรับงานที่ต้องหยิบจับวัสดุอุปกรณ์เบา ๆ เพื่อป้องกันมือจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ
  8. ถุงมือผ้าหรือใยทอเคลือบน้ำยา ใช้สาหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีโดยทั่วไป เช่น งานหีบห่อ งานบรรจุกระป๋อง หรืออุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ
นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ป้องกันมือ นิ้วมือ และแขน สำหรับใช้กับงานที่มีลักษณะเฉพาะด้านอื่น ๆ เช่น หนังหุ้มมือหรือเบาะรองมือใช้พันมือและแขน สำหรับงานที่ต้องสัมผัสความร้อนหรืองานที่มีสะเก็ดของร้อนกระเด็นกระทบมือและแขนได้ 

 *** จำหน่ายป้ายความปลอดภัยทุกรูปแบบ***

                           

การบำรุงรักษา โดยทั่วไป มีดังนี้

1.ทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากเลิกใช้งานแล้ว

2.ถุงมือที่สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกได้ เช่น ถุงมือป้องกันสารเคมี ถุงมือหนัง ซัก ล้าง ผึ่งให้แห้ง ส่วนถุงมือประเภทอื่น ๆ ให้ทำความสะอาดตามคู่มือละคำแนะนำของบริษัท

3.ไม่เก็บถุงมือไว้ในที่ร้อนจนเกินไป ปราศจากฝุ่นและสารเคมี

มาตรฐานสำหรับถุงมือ

มาตรฐาน : ข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับถุงมือป้องกัน จะมีมาตรฐานควบคุมโดย DIN EN 420 
โดยมาตรฐานนี้จะกำหนดคุณลักษณะของถุงมือป้องกันต่าง ๆ ดังนี้ 

  • วิธีการทดสอบที่เกี่ยวข้องที่จะใช้
  • ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับกฎการออกแบบ
  • การผลิตถุงมือ
  • ความต้านทานของวัสดุถุงมือต่อการซึมผ่านของน้ำ
  • คุณภาพในการป้องกันอันตราย และความสะดวกสบายและลักษณะการทำงาน
  • การทำเครื่องหมายและข้อมูลที่จัดหาให้ (โดยผู้ผลิต)

โดยทั่วไปแล้วถุงมือนิรภัยที่ใช้ในอุตสาหกรรม จะต้องผ่านมาตรฐานหลัก ๆ คือ

มาตรฐาน EN388, EN407, EN511

รหัสประเภทแยกตามมาตรฐาน EN-Standards มีดังต่อไปนี้

EN374 ถุงมือสำหรับป้องกันสารเคมีและอนุภาคขนาเล็ก

EN381 ถุงมือสำหรับป้องกันงนาเลื่อยด้วยมือ

EN388 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเครื่องจักร

EN407 ถุงมือสำหรับป้องกันงานที่ใช้ความร้อนสูง

EN420 ถุงมือสำหรับป้องกันงานทั่วไป

EN421 ถุงมือสำหรับป้องกันงานรังสี, ไอออน สารเจือปนรังสี

EN455 ถุงมือสำหรับงานการแพทย์

EN511 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเย็น

EN659 ถุงมือสำหรับป้องกันงานดับเพลิง

EN30819 ถุงมือสำหรับป้องกัน การลื่นไหล, การสั่นสะเทือน

EN pending ถุงมือสำหรับงานเชื่อม

EN60903 ถุงมือสำหรับป้องกัน งานไฟฟ้า (ถุงมือเป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้า)

 

Visitors: 111,967