อุปกรณ์การทำงานบนที่สูง (Hight Safety)

                                    

  • capture_464.jpg
    หมวกนิรภัยสามารถปกป้องศีรษะต่อวัตถุที่อาจหล่นจากที่สูง หรือ ในกรณีที่ผู้ใช้งานพลัดตกจากที่สูงขณะทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการทำงานที่สูง และ งานที่สูงในโรงงานอุตสาหกรรม ผลิต...

  • 1.jpg
    เข็มขัดแบบรัดทั้งตัว Body wear (full body harness) ใส่โดยผู้ใช้งาน โดยต้องสวมใส่ทั้งตัวไม่ใช่จุดใดจุดหนึ่ง เป็นอุปกรณ์ดึงผู้ปฏิบัติงานถ้ามีการตก โดยHarness จะต้องเลือกให้เหมาะสม...

  • capture_462.jpg
    ASCENSION เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เป็น SAFETY ในกรณีที่พนักงานไม่สามารถควบคุมหรือใช้งาน RACK ได้ ซึ่งจะทำหน้าที่หลักในการล็อคเชือกเพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่ไหลลง โดยปกติจะใช้งานคว...

  • 12.jpg
    เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียดกรุณาใส่ข้อความ …

  • capture_461.jpg
    อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector) จะมีอยู่อย่างน้อย 2 จุดคือจุดที่เชื่อมต่อกับจุดยึด (Anchor Point Connector) และจุดที่ยึดกับตัว Harness (Harness Connector) จะต้องทนต่อการกัดกร่อนผิ...

  • 8.jpg
    เชือกสำหรับป้องกันการตก (Fall Absorbing Lanyard) จะทำจากเหล็ก ไนล่อน(โพลีเอไมด์)หรือเส้นใย Dacron โดยอาจจะมีเสริมอุปกรณ์ดูดซับแรง (Shock-Absorb) เพื่อลดแรงกระแทกเวลาตก เชือกจะต...

  • MASTERITEM.jpg
    มีกระเป๋าใส่อุปกรณ์ที่กระทัดรัด พกพาสะดวก มีประสิทธิภาพนั้นทำให้ผู้ใช้งานสามารถจัดระบบ และ นำอุปกรณ์ไปใช้ในกิจกรรมแนวดิ่งได้อย่างสะดวก

  • Screenshot_2014-09-16-23-21-14.jpg

อุปกรณ์การทำงานบนที่สูง (Hight Safety) 

เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว (Full body harness)

เข็มขัดนิรภัยมีหน้าที่เป็นพยุงผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว โดยใช้เชื่อมต่อกับสายช่วยชีวิตหรือ Lanyard ที่เชื่อมต่อไปยังจุดยึดบนอาคารหรือโครงสร้างต่างๆกันการพลัดตกจากที่สูง ซึ่งเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวนี้ ถูกออกแบบให้มีลักษณะแบบพยุงรอบตัว และมีจุดสำหรับเชื่อมต่อ connector กับสาย Lanyard หรือที่เรียกว่า D-Ring อย่างน้อย 1 จุด โดยจุดยึดดังกล่าวจะอยู่บริเวณด้านหลังของชุด (เมื่อสวมใส่ชุดเข็มขัดนิรภัยฯแล้วจุดยึดจะอยู่บริเวณท้ายทอยของผู้สวมใส่ )

นอกจาก D-Ring บริเวณท้ายทอยที่มากับเข็มขัดนิรภัยในรุ่นมาตรฐานแล้วนั้น เข็มขัดนิรภัยบางรุ่น ยังมีการออกแบบเพิ่ม D-Ring พิเศษในจุดต่างๆของชุดเข็มขัดนิรภัยเพื่อให้เหมาะสมของแต่ละหน้างานอีกด้วย อาทิ ที่หน้าอก ที่เอวทั้งสองข้าง

ซึ่งการออกแบบ D-Ring ในบริเวณต่างๆของชุดเข็มขัดนิรภัยนั้นจะมีมาตรฐานกำกับที่ชัดเจน เช่น

  • D-Ring เพื่อป้องกันการตกที่ติดตั้งบริเวณท้ายทอยหรือบริเวณหน้าอกต้องผ่านมาตรฐาน EN 361
  • D-Ring ที่บริเวณท้อง ใช้ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เชือก เช่น งานโรยตัว ต้องผ่านมาตรฐาน EN 813
  • D-Ring ที่บริเวณเอว สำหรับการอิงตัวเพื่อที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้มือทั้งสองข้างในการทำงานบนที่สูงได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ต้องผ่านมาตรฐาน EN 358 เป็นต้น

หากหน้างานมีการใช้งานที่แตกต่างครอบคลุมการทำงานหลายรูปแบบก็สามารถเลือกชุดเข็มขัดนิรภัยที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งจะมี D-Ring หลายจุดในชุดเดียวได้เช่นกัน แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

 

สายช่วยชีวิตชนิดม้วนสายเก็บอัตโนมัติ (Retractable Lanyard)

สายช่วยชีวิตตามที่มาตรฐานสากลกำหนดนั้นจะมีความยาวใช้งานได้สูงสุดไม่เกิน2เมตร แต่ในหน้างานที่แตกต่างออกไปนั้นตามแต่ละพื้นที่ยังคงต้องการความยาวสายที่มากกว่านี้มาป้องกันผู้ปฏิบัติงานหากเกิดการพลัดตกขึ้นขณะปฏิบัติงาน ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อสามารถใช้ในงานป้องกันการตกได้มากกว่า2เมตร อุปกรณ์ชนิดนี้คือ สายช่วยชีวิตชนิดม้วนสายเก็บอัตโนมัติ หรือ Retractable Lanyardนั่นเอง

สายช่วยชีวิตชนิดม้วนสายเก็บอัตโนมัติ หรือ Retractable Lanyard คืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในระบบป้องกันการตก โดยใช้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับจุดยึดนั่นเอง อุปกรณ์ชนิดนี้มีความพิเศษอยู่ที่ตัวชุดสายสามารถม้วนเก็บเข้าตลับได้เองเมื่อผู้ปฏิบัติงานเดินเข้าใกล้ตัวอุปกรณ์และตัวสายสามารถมีความยาวสายใช้งานได้มากกว่า2เมตร โดยความยาวสายที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันมีตั้งแต่1.8เมตรจนถึง30เมตร (ในบางผู้ผลิตทำได้ยาวกว่า30เมตร)

ด้วยลักษณะพิเศษของชุดสายที่สามารถม้วนกลับเข้าตลับได้โดยอัตโนมัตินี้ (หากนึกภาพไม่ออกให้นึกถึงสายของตลับเมตรที่สามารถม้วนสายเก็บเข้าตลับได้เช่นเดียวกัน) จึงทำให้การทำงานบนที่สูงเกิดความสะดวก คล่องตัว และปลอดภัย
มาตรฐานสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันมีสองมาตรฐานหลักคือ ANSI Std.(มาตรฐานฝั่งอเมริกา) และ EN Std.(มาตรฐานฝั่งยุโรป)
อุปกรณ์ชนิดนี้ในอดีตนั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้ป้องกันการตกแนวดิ่งเป็นหลัก(Vertical) การใช้งานทำได้โดยการแขวนอุปกรณ์นี้ในตำแหน่งเหนือศีรษะของผู้ปฏิบัติงาน แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ชนิดนี้ถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้ทั้งแนวดิ่ง(Vertical) และแนบระดับ (Horizontal) กล่าวคือสามารถติดตั้งไว้แนวเดียวกับระดับที่ผู้ปฎิบัติงานยืนทำงาน ในการเลือกใช้งานนั้นผู้เขียนแนะนำให้เลือกจากคุณลักษณะการใช้งานตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เพราะใช่ว่าทุกรุ่น ทุกยี่ห้อที่จะสามารถใช้งานได้ทั้งแนวดิ่งและแนวระดับ

 จุดเด่นของอุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่
– ชุดสายไม่เกะกะผู้ใช้งานขณะปฏิบัติงาน
– มีความยาวใช้งานให้เลือกหลากหลายตามความต้องการของแต่ละหน้างาน
– เมื่อเกิดการตกระยะหยุดจะสั้นกว่าสายช่วยชีวิตแบบมาตรฐาน
– แรงกระชากที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ปฏิบัติงานมีน้อยกว่าสายช่วยชีวิตแบบมาตรฐาน

 

สายช่วยชีวิต(Lanyard)ชนิดไม่มีEnergy Absorber VS ชนิดมีEnergy Absorber

อุปกรณ์หลักอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวเลยนั่นคือ “สายช่วยชีวิต หรือ Lanyard” นั่นเอง

สายช่วยชีวิต(Lanyard) ชนิดไม่มี Energy Absorber สายช่วยชีวิตประเภทนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในระบบยับยั้งการตกหรือFall Restraint System เหตุผลเนื่องจากในระบบยับยั้งการตกนั้น จะต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดการตกเกิดขึ้น สามารถทำได้โดยการจำกัดระยะทางของผู้ปฏิบัติงานดังรูปประกอบด้านล่าง จากภาพจะเห็นได้ว่าผู้ปฏิบัติงานจะไม่เกิดการตกเนื่องจากถูกสายช่วยชีวิตจำกัดระยะทางเอาไว้ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้Energy Absorberในการช่วยลดแรงกระชากเมื่อเกิดการตก การทำงานในลักษณะนี้จึงเหมาะกับสายช่วยชีวิต(Lanyard)ชนิดไม่มีEnergy Absorber

สายช่วยชีวิต(Lanyard)ชนิดมีEnergy Absorber  สายช่วยชีวิตประเภทนี้จะมาพร้อมEnergy Absorber เหมาะสำหรับการใช้งานในระบบป้องกันการตกหรือFall Protection System เหตุผลเนื่องจากเมื่อเกิดการตกจากที่สูงสายช่วยชีวิตจะทำหน้าที่ในการเหนี่ยวรั้งตัวผู้ตกไม่ให้ตกลงสู่พื้นโดยมีอุปกรณ์ลดแรงกระชากหรือEnergy Absorberทำหน้าที่ในการช่วยลดแรงกระชากให้เหลือน้อยกว่า6kN(อ้างอิงตามมาตรฐานEN 355 : Personal protective equipment against falls from height – Energy absorbers) เพื่อให้ความปลอดภัยต่อผู้ตกนั่นเอง หากปราศจากอุปกรณ์ลดแรงกระชากแล้วนั้น แรงกระชากดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ตกให้ได้รับอันตรายร้ายแรงได้แม้จะไม่ตกถึงพื้นดินก็ตาม

จะเกิดอะไรขึ้นหากนำสายช่วยชีวิต(Lanyard)ชนิดไม่มีEnergy Absorberไปใช้ในระบบป้องกันการตก
ถ้าไม่มีEnergy Absorber เมื่อเกิดการตกจะเกิดการดีดเด้งเนื่องจากแรงกระชากที่เกิดขึ้นสูงในลักษณะแบบไร้ทิศทาง ผลที่เกิดขึ้นผู้ตกจะได้รับแรงกระชากสูงซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมากและตัวหรือศีรษะของผู้ตกยังอาจจะกระแทกกับวัตถุที่อยู่บริเวณข้างเคียงด้วยความรุนแรงได้อีกเช่นกัน ในขณะที่มีEnergy Absorberจะทำหน้าที่ลดแรงกระชากให้เหลือน้อยกว่า6kN ซึ่งแรงกระชากที่เกิดกับผู้ตกจะอยู่ในระดับปลอดภัย เมื่อแรงกระชากที่เกิดชึ้นน้อยส่งผลให้การดีดเด้งแบบไร้ทิศทางจะลดน้อยลงอย่างมากด้วยเช่นกัน

ห่วง D-Ring บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว(Full body Harness)กับการใช้งาน

ห่วง D-Ring ที่ติดตั้งอยู่บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวในรุ่นมาตรฐานนั้นผู้ผลิตจะติดตั้งมาให้1จุดบริวณด้านหลังของชุดโดยผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อการใช้งานตามมาตรฐานกำหนด นอกจากนี้โดยทั่วไปห่วง D-Ring ที่ติดตั้งอยู่บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวสามารถมีได้มากกว่า1จุดเช่นกัน ตามที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปและจากการที่ห่วงD-Ringที่ถูกติดตั้งอยู่บนชุดนั้นมีมากกว่า1จุดขึ้นไปนั้นอาจส่งผลให้หลายครั้งที่ผู้ใช้งาน ใช้งานห่วงD-Ringดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์ที่มาตรฐานได้กำหนด

เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการใช้งานที่อาจจะเกิดจากความไม่รู้หรือข้อจำกัดทางด้านงบประมาณดังกล่าวจนกระทั่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้นั้น ก่อนการใช้งานผู้ปฏิบัติงานหรือหัวหน้างานควรทำความเข้าใจกับห่วงD-Ringในจุดต่างๆให้เกิดความเข้าใจเพื่อความปลอดภัยก่อนการใช้งานต่อไป

ในการใช้งานห่วงD-Ringที่ติดตั้งอยู่บนเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวโดยทั่วไปสามารถจำแนกได้ดังนี้
ห่วง D-Ring บริเวณด้านหลังของชุด : มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อกับสายช่วยชีวิต (Lanyard) สําหรับการป้องกันการตกจากที่สูง
ห่วง D-Ring บริเวณอกด้านหน้าของชุด : มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อกับสายช่วยชีวิต (Lanyard) สําหรับการป้องกันการตกจากที่สูงเช่นเดียวกับห่วง D-Ring บริเวณด้านหลังของชุด
ห่วง D-Ring บริเวณช่องท้องด้านหน้าของชุด : มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ร่วมกับระบบเชือก เช่น ใช้ในการ เข้าถึงที่อับอากาศหรือการโรยตัว เป็นต้น
ห่วง D-Ring บริเวณข้างเอวด้านซ้าย-ขวาของชุด : มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการพยุงตัว เพื่อการทำงานบนที่สูง โดยใช้งานร่วมกับสายนิรภัยที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกันเท่านั้น

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 112,292