ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) / ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit Sign Light)

         
            
ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)
จุดประสงค์การใช้ทำงาน ไฟฉุกเฉินคือ ใช้เป็นเครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่องจะส่องสว่างอัตโนมัติ เพื่อให้หน่วยงานมีแสงสว่างในเวลากลางคืน

หลักการทำงานของไฟฉุกเฉินคือ
เป็นอุปกรณ์ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่จะมี 2 แบบ คือ แบบชนิดเติมน้ำกลั่น และชนิดแห้งไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และเมื่อไฟฟ้าดับจะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไป On 
หน้า Contactของ Relay และจะทำให้หลอดไฟสว่างเมื่อมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ไฟฉุกเฉินก็จะมีวงจรลดแรงดันไฟฟ้าและแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นกระแส DC เพื่อประจุให้แบตเตอรี่และมีวงจร Off หน้า Concat relay เพื่อไม่ให้หลอดไฟสว่าง

คำว่า LED ย่อมาจาก Light Emitting Diode
คือ ไดโอดเปล่งแสง ซึ่งสามารถเปล่งแสงออกมาได้ แสงที่เปล่งออกมาจะประกอบด้วย คลื่นความถี่เดียวและมีเฟสที่ต่อเนื่องกัน โดยหลอด LED จะสามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้นแต่ประสิทธิภาพของแสง ที่เปล่งออกมาสามารถให้ความสว่างได้สูง 
จึงมีข้อดีในเรื่องของการประหยัดไฟและให้พลังงาน และความร้อนที่ต่ำ


ระบบเซ็นทรัลยูนิต(Central Unit) สำหรับไฟฉุกเฉิน ที่ใช้กับหัวไฟ ชนิดต่างๆ

อุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน(Emergency Light System) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับสำรองไฟฟ้าฉุกเฉินกรณีไฟดับกระทันหัน ไฟฟ้าฉุกเฉินก็จะทำงานทันที ไฟฉุกเฉินมีด้วยกันหลายยี่ห้อที่ใช้ตามบ้านพักอาศัยหรือตามโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ไฟฟ้าฉุกเฉิน ซีอีอี (CEE)  ไฟฟ้าฉุกเฉินแม็กไบ้ท์ (MAXBRIGTH)  ไฟฟ้าฉุกเฉินซันนี่ (SUNNY) ไฟฟ้าฉุกเฉินไดโน่ (DYNO) เป็นต้น 

ขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้อง

ก่อนใช้งาน
- ควรศึกษาคู่มือการใช้งานแต่ละยี่ห้อให้เข้าใจ
- การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้น ๆ เช่นถ้าแบตเตอรี่
แบบเติมน้ำกลั่น ควรจะติดตั้งบริเวณทางเดินหรือที่โล่ง หรือพื้นที่ที่มีการระบายอากาศเป็น
อย่างดีเพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาเป็น
อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจถ้านำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ ในห้องที่มี
อากาศถ่ายเทไม่ดีหรือห้องที่เป็นระบบปิดควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง
ระหว่างการใช้งาน
- ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นต้องตรวจสอบระดับน้ำกลั่นทุก ๆ 1 เดือน
- ทดสอบการใช้งานว่าเครื่องสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่โดยกดปุ่ม test ทุก ๆ 1 เดือน ว่าหลอดไฟติดหรือไม่ ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มีปุ่ม test ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้า
- ถ้าไฟดับในเวลากลางวัน แล้วมีใครปิดสวิทซ์ เพื่อไม่ให้หลอดไฟสว่างเมื่อไฟฟ้าจ่ายเป็นปกติ แล้วให้เปิดสวิทซ์เพราะมิเช่นนั้น ไฟฉุกเฉินจะไม่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
- ควรให้แบตเตอรี่มีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยเปิด เครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

การบำรุงรักษาไฟฉุกเฉิน
- ทำความสะอาดดวงโคม ทุก 2 สัปดาห์
- ตรวจสอบระดับน้ำกลั่น เติมน้ำกลั่น ทุก 1 เดือน
- ทดสอบการทำงานของเครื่อง test เครื่อง ทุก ๆ 1 เดือน
- คายประจุแบตเตอรี่ให้หมด ทุก ๆ 6 เดือน

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า ไฟฉุกเฉิน โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
โดยเลือกระยะเวลาการใช้งาน(Duration) จำนวนชั่วโมง จำนวนหลอดไฟฉุกเฉินที่ใช้ ชนิดของหลอดไฟฉุกเฉิน คือ หลอดไฟฉุกเฉินไดคออิก ฮาโลเจน(Dichroic Halogen)และหลอดไฟฉุกเฉินทังสเตนส์ ฮาโลเจน(Tungsten Halogen) หรือ แอลอีดี(LED)

การดูแลรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า ไฟฉุกเฉิน โคมไฟฉุกเฉิน หลังการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน
ฝ่ายช่างหรือผู้ดูแลโคมไปฉุกเฉิน ต้องมีการตรวจสอบระบบการทำงานของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ทุกๆ เดือน โดยวิธีทดสอบ ดังนี้
1. ทดสอบที่ตัวโคมไฟฟ้าฉุกเฉินหรือไฟฉุกเฉิน โดยกดสวิตช์ TEST หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องติดสว่าง ปล่อยสวิตช์หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่อกับเครื่องไฟก็จะดับ
2. ถอดปลั๊กโคมไฟฉุกเฉินหรือไฟฉุกเฉินออก หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องติดสว่าง และให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หลังการทดสอบให้เสียบปลั๊กไฟของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน เข้ากับเต้าเสียบเหมือนเดิมให้มีการอัดประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรรี่ ของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน

สาเหตุที่ต้องมีการทดสอบระบบโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน หรือ ไฟฉุกเฉิน ทุกๆเดือน
1. แบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉิน หรือ โคมไฟฉุกเฉิน จะได้มีการคายประจุและอัดประจุไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของสารเคมีทีมีภายในแบตเตอรี่หรือเกิดการลัดวงจรของเซลล์แบตเตอรี่ ของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน มีผลทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพการทำงาน และหมดอายุการใช้งานเร็วขึ้น
2. ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์โคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ไฟฉุกเฉิน ว่ามีทำงานที่เป็นปกติดีหรือไม่ ถ้าการทำงานไม่ปกติ ให้รีบแจ้งฝ่ายบริการของบริษัทได้ทันที

ข้อควรระวังในการใช้งานไฟฉุกเฉิน
1. ไม่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินชนิดแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น ไว้บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดีเพราะจะทำ ให้ไอตะกั่วระเหยกระจายในอากาศ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
2. การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ต้องมั่นคงแข็งแรง เพราะแบตเตอรี่จะมีน้ำหนักมากอาจจะร่วงหล่นเป็นอันตรายได้
3. ควรเสียบปลั๊กไฟฟ้าเพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ พร้อมใช้งานตลอดเวลาเมื่อไฟฟ้าปกติดับ

ไฟฉุกเฉิน SUNNY,ไฟฉุกเฉิน DYNO,ไฟฉุกเฉิน MAX BRIGHT,ไฟฉุกเฉิน SAFEGUARD,ไฟฉุกเฉิน กันระเบิด BOSSTON

อุปกรณ์ไฟฟ้า
การให้แสงสว่างของไฟฉุกเฉิน MAX BRIGHT , DYNO หรือ SUNNY  สามารถเลือกสภาวะการทำงานทั้งชนิดไฟฉุกเฉินคงแสง และชนิดไฟฉุกเฉินไม่คงแสง โดยมีอุปกรณ์สำหรับการให้แสงสว่างฉุกเฉินในการทำงาน เช่นแบตเตอรรี่ หลอดไฟฟ้า ชุดควบคุม อุปกรณ์ทดสอบ และอุปกรณ์แสดงสภาวะ

ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินได้ผ่านการออกแบบและคัดเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงเข้ามาเป็นส่วนประกอบทำให้ไฟฉุกเฉินมีประสิทธิภาพสูงและสวยงามพร้อมที่จะเป็นเครื่องประดับภายในอาคาร หรือสถานที่ติดตั้งใช้งาน จากคุณภาพและประสิทธิภาพสูงของระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ทำให้ผลิตภัณฑ์ไฟฉุกเฉินรุ่นต่างๆได้ผ่านการรับรองตามข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2000 และได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและมาตรฐาน CE Mark (Germany) ดังนั้นมั่นใจได้ว่าระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน โดยเฉพาะในขณะที่เกิดเหตฉุกเฉินขัดข้องต่างๆ เช่นกระแสไฟฟ้าขัดข้องหรือเกิดอัคคีภัย

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า ไฟฉุกเฉิน โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน MAX BRIGHT , DYNO หรือ SUNNY
โดยเลือกจากระยะเวลาการใช้งาน(Duration) จำนวนชั่วโมง จำนวนหลอดไฟฉุกเฉินที่ใช้ ชนิดของหลอดไฟฉุกเฉิน คือ หลอดไฟฉุกเฉินไดคออิก ฮาโลเจน(Dichroic Halogen) หลอดไฟฉุกเฉินทังสเตนส์ ฮาโลเจน(Tungsten Halogen) และหลอดแอลอีดี (LED)

การดูแลรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า ไฟฉุกเฉิน โคมไฟฉุกเฉิน MAX BRIGHT , DYNO หรือ SUNNY 
หลังการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน
ฝ่ายช่างหรือผุ้ดูแลโคมไปฉุกเฉิน ต้องมีการตรวจสอบระบบการทำงานของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ทุกๆ เดือน โดยวิธีทดสอบ ดังนี้
         1. ทดสอบที่ตัวโคมไฟฟ้าฉุกเฉินหรือไฟฉุกเฉิน โดยกดสวิตช์ TEST หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉินจะติดสว่าง ปล่อยสวิตช์หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่อกับเครื่องจะดับ
         2. ถอดปลั๊กโคมไฟฉุกเฉินหรือไฟฉุกเฉินออก หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉินจะติดสว่าง ให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หลังการทดสอบให้เสียบปลั๊กไฟของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน เข้ากับเต้าเสียบเหมือนเดิมให้มีการอัดประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรรี่ ของบโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน

สาเหตุที่ต้องมีการทดสอบระบบโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน หรือ ไฟฉุกเฉิน ทุกๆเดือน มีดังนี้
        1. แบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉิน หรือ โคมไฟฉุกเฉิน จะได้มีการคายและอัดประจุไฟฟ้า เพื่อป้องกันเกิดการเสื่่อมสภาพของสารเคมีที่มีภายในแบตเตอรี่หรือเกิดการลัดวงจรของเซลล์แบตเตอรี่ ของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน มีผลทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพการทำงาน และหมดอายุการใช้งานเร็วขึ้น
        2. ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์โคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ไฟฉุกเฉิน ว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ถ้าการทำงานไม่ปกติ ให้รีบแจ้งฝ่ายบริการของบริษัทได้ทันที

คุณสมบัติทั่วไปของไฟฉุกเฉิน
- แรงดันไฟฟ้าเข้า AC 220 Volt 50 Hz,+,- 10%, 1 Phase.
- ชนิดมีแบตเตอรี่พร้อมใช้งานและระบบควบคุมอัตโนมัติแบบ Solid State ที่ควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าเข้า และกระจายประจุของแบตเตอรี่
  อย่างแม่นยำ โดยระบบควบคุมมีการตัดวงจรเมื่อมีการคายประจุจากแบตเตอรี่ถึงขีดแรงดันไฟฟ้าที่จะเป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่
- แบตเตอรี่ชนิด Sealed Lead Acid Battery หรือ Nickel Cadmium ขนาดแรงดัน DC 6 Volt หรือ 12 Volt โดยมีประจุขนาดกำลังสามารถ
  จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟฉุกเฉิน
- ระบบประจุแบตเตอรี่ควบคุมประสิทธิภาพด้วย IC (Integrate Circuit) ที่ให้ความแม่นยำเที่ยงตรงสูงสามารถประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ได้เต็ม
  ความจุของแบตเตอรี่
 : Constant Voltage Charge System สำหรับแบตเตอรี่ Sealed Lead Acid หรือ
 : Constant Current Charge System สำหรับแบตเตอรี่ Nickel Cadmium
- ระบบการทดสอบเพื่อจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ AC Line
  : แบบธรรมดา (Manual Test) หรือ
  : แบบอัตโนมัติ (Automatic Time Test System) (Option)
- สวิตซ์เพื่อปิดหลอดไฟฉุกเฉินขณะที่เกิดความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ AC Line เพื่อเป็นการประหยัดไฟจากแบตเตอรี่ในเวลา
  ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งาน

ระบบป้องกัน (Protection System)
1. ระบบป้องกันแบตเตอรี่คุณภาพสูง ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานกว่า
   - ป้องกันการคายประจุจากแบตเตอรี่ถึงแรงดันไฟฟ้าที่จะเป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่ (Low Voltage Cut - Off)
   - ป้องกันการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ถึงแรงดันที่เป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่ (Hight Voltage Cut - Off)
2. ระบบป้องกันการลัดวงจร
  - AC Protection ป้องกันการลัดวงจรทางด้านแรงดันไฟฟ้าเข้า AC Line
  - DC Protection ป้องกันการลัดวงจรทางด้านระบบวงจรประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่

- มีช่องระบายความร้อนอย่างพอเพียง และมีอุปกรณ์ประกอบ เช่น
  : Test Button
  : ON/OFF Button
  : Indicating Lamp

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light), ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit sign) ไฟฉุกเฉิน LED, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED

 


ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit Sign Light)

จุดประสงค์การใช้ทำงาน ไฟฉุกเฉินคือ ใช้เป็นเครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่อง
จะส่องสว่างอัตโนมัติ เพื่อให้หน่วยงานมีแสงสว่างในเวลากลางคืน

หลักการทำงานของป้ายไฟฉุกเฉินคือ
เป็นอุปกรณ์ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่จะเป็นชนิดแห้งไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และเมื่อไฟฟ้าดับจะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไป On หน้า Contact
ของ Relay และจะทำให้หลอดไฟสว่างเมื่อมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ไฟฉุกเฉินก็จะมีวงจรลดแรงดันไฟฟ้า
และแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นกระแส DC เพื่อประจุให้แบตเตอรี่และมีวงจร Off หน้า Concat relay เพื่อ

Visitors: 111,586