อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Foot Protection)

   

#โปรโมชั่นรองเท้าเซฟตี้ #โปรโมชั่นรองเท้ากันไฟฟ้าสถิต #รองเท้านิรภัย #รองเท้าเซฟตี้
                                 

                                           

อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Foot Protection)

1.  รองเท้าที่ต้องสวมใส่ตลอดเวลาที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ สวมใส่เพื่อป้องกันส่วน          ของเท้า นิ้วเท้า หน้าแข้ง ไม่ให้สัมผัสกับอันตรายจากการปฏิบัติงาน 

2. รองเท้าต้องเป็นรองเท้าที่ปิดนิ้วเท้าและหลังเท้ามิดชิด  ชนิดหัวรองเท้าเป็นโลหะ      สามารถรับน้ำหนักได้ 2,500 ปอนด์ และทนแรงกระแทกของวัตุหนัก 50 ปอนด์        ที่ตกจากที่สูง 1 ฟุต ได้ เหมาะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง อุตสาหกรรมอื่น ๆ

3. รองเท้าทำจากวัสดุที่สามารถทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี ตัวทำละลาย หรือ        การซึมผ่าน ของน้ำได้ เช่น รองเท้ายางที่สวมหุ้มรองเท้าธรรมดา และรองเท้าบูท      แต่รองเท้าหนังสามารถ ดูดซับสารเคมีได้ ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า วัสดุที่ใช้ทำ      จากยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์

4. รองเท้าป้องกันสารเคมี ทำจากวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น ไวนิล นีโอพรีน
    ยางธรรมชาติ      หรือยางสังเคราะห์ แบ่งเป็นชนิดที่มีหัวโลหะ และไม่มีหัวโลหะ

5. รองเท้าที่สารเคมีอันตรายกรดหยดใส่ ไม่ควรนำมาสวมอีก

 

 

 
                                                     
                                                  

 

 

   โดยทั่วไปแล้วเราสวมรองเท้าก็เพื่อปกป้องฝ่าเท้าของเราจากเชื้อโรคและสิ่งสกปรกทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับคนที่ทำงานในที่ที่มีความเสี่ยงหรืองานที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ นั้น การสวม “รองเท้าเซฟตี้” ช่วยปกป้องเท้าจากอันตรายหลายอย่างในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นจากเหตุไม่คาดฝัน สภาพแวดล้อม หรืออุบัติเหตุจากตัวผู้ใช้งานเอง

   ทำไมต้องใส่รองเท้าเซฟตี้
1.รองเท้าเซฟตี้ช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากของหนักตกหล่นใส่เท้า
2.รองเท้าเซฟตี้ช่วยปป้องกันการเจาะทะลุจากของมีคม
3.รองเท้าเซฟตี้ช่วยป้องกันการตัดเฉือน หรือ กันบาดได้ดี
4.รองเท้าเซฟตี้เป็นฉนวนไฟฟ้า กันไฟฟ้าดูดได้ดี
5.รองเท้าเซฟตี้ช่วยป้องกันการลื่นไถลในที่ทำงาน

แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 4 ประเภทดังนี้

   1. รองเท้าหนังหัวโลหะ

   รองเท้าชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก ใช้ในการป้องกันวัตถุกระแทก ของหล่นทับ 

รองเท้านิรภัยนี้ แบ่งออกเป็น3ระดับ ตามความทนต่อแรงกดและแรงกระแทกที่บริเวณเหล็กหัวเท้า

   2. รองเท้าสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

     ต้องมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี ป้องกันเหงื่อหรือที่เปียกชื้นของบริเวณเท้าและฝ่าเท้า

   3. รองเท้าที่ใช้ในโรงหลอมและหล่อโลหะ

     ใช้ในอุตสาหกรรม ควรเป็นรองเท้าที่ทำจากวัสดุกันความร้อนได้ ส่วนบนของรองเท้ามี การปกคลุมบริเวณขาให้สูงขึ้นมา เพื่อป้องกันการกระเด็นหรือหก 

จากโลหะเหลวที่หลอมละลาย

   4. รองเท้าที่ใช้ในบริเวณที่มีหรือสงสัยว่ามี ของผสมที่ไวไฟ

      โดยรองเท้าชนิดนี้จะป้องกันไฟฟ้าสถิติที่เกิดขึ้นจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งอาจเกิดเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดการระเบิดหรือการลุกไหม้

การเลือกรองเท้านิรภัยที่ได้มาตรฐาน

           ตามหลักสากลนั้นมาตรฐานรองเท้านิรภัยถูกกำหนดให้มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 

         มาตรฐานรองเท้านิรภัยยุโรป EN345 และมาตรฐานรองเท้านิรภัย ANSIZ41.1 

             โดยมาตรฐานของรองเท้าทั้งสองประเภทนั้นมีข้อกำหนดดังนี้

           1. มาตรฐานรองเท้านิรภัยของสหภาพยุโรป EN345

                 รองเท้านิรภัยคู่ใดจะได้รับเครื่องหมายมาตรฐาน EN345 อันเป็นข้อบังคับหลักของยุโรปหรือเครื่องหมายมาตรฐาน ISO EN20345 

                 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

                   1) หัวรองเท้าจะต้องมีการป้องกันแรงกระแทกได้สูงถึง 200 จูล

                   2) ผ่านการทดสอบของแรงบีบอัดได้

                   3) บริเวณส่วนบนของรองเท้านั้นจะต้องมีความหนาที่เพียงพอและสามารถต้านทานของการขัดสีได้ในระดับที่มาตรฐานกำหนดไว้

                   4) พื้นรองเท้าต้องสามารถที่จะทนต่อความร้อนได้ดี ต้านทานการขัดสี และสามารถรับแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังต้องทนทานต่อ                           สารเคมีหรือน้ำมันบางชนิดที่มีข้อกำหนด

          2. มาตรฐานรองเท้านิรภัย ANSIZ41.1

                    1) หัวของรองเท้าต้องทนต่อการถูกตกกระแทก หรือแรงบีบได้

                    2) รองเท้าจะต้องมีแผ่นป้องกันกระดูกเท้าส่วนบน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่กระดูกเท้าด้านบนจะแตกหรือหักจากแรงตกกระแทกได้

                    3) รองเท้าจะต้องสามารถกระจายไฟฟ้าสถิตได้ ป้องกันการถูกไฟดูดและต้องเป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระจายลงสู่พื้นได้ด้วย

                    4) รองเท้าตัวนำ จะต้องมีคุณสมบัติปล่อยไฟฟ้าสถิตย์จากร่างกายลงสู่พื้นได้ดี เพื่อป้องการไฟฟ้าสถิตสะสม

                    5) รองเท้าจะต้องมีความทนทานเพียงพอไม่ให้มีการถูกเจาะทะลุ ส่วนสำคัญของรองเท้านิรภัยตามมาตรฐานข้อนี้อยู่ที่พื้นรองเท้า

                    6) รองเท้ากระจายไฟฟ้าสถิต ซึ่งเป็นมาตรฐานที่นำคุณสมบัติเรื่องการกระจายไฟฟ้าสถิตออกจากตัวผู้สวมใส่ ในขณะเดียวกันก็ยัง                                สามารถต้านทานกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไฟดูดได้

           ข้อบังคับให้ระบุอักษรย่อเพื่อบอกคุณสมบัติของรองเท้านิรภัย ดังนี้

           1) SB (Safety Basic) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

           2) SBP (SB with pierce resistant midsole) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นต้านทานการแทงทะลุ

           3) S1 (SB with anti-static sole and cushioned heel area) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

           พร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิต

           4) S1P (S1 with pierce resistant midsole) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

           พร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิต รวมทั้งพื้นต้านทานการแทงทะลุ

           5) S2 (S1 with water resistant upper) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

           พร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิต รวมทั้งส่วนบนต้านทานน้ำ

           6) S3 (S2 with pierce resistant midsole) สำหรับรองเท้าที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

           พร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิต ส่วนบนต้านทานน้ำ รวมทั้งพื้นต้านทานการแทงทะลุ   

คุณสมบัติพิเศษรองเท้านิรภัย มีสัญลักษณ์เพิ่มเติมด้านท้าย เช่น

P – มีพื้นเหล็ก ป้องกันการเจาะทะลุได้ 1,100 นิวตัน

C Conductive footwear รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตแบบตัวนำ

A Antistatic footwear รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต

HI – รองเท้ามีฉนวนป้องกันความร้อน

CI – รองเท้ามีฉนวนป้องกันความเย็น (-20 C)

E – พื้นรองเท้าช่วยดูดซับแรงกดที่ส้นเท้า 20 จูล

WRU – รองเท้าส่วนบนป้องกันน้ำซึมเข้ารองเท้า

HRO – พื้นรองเท้าทนความร้อน 300 องศาเซลเซียสนาน 1 นาที

CRO – พื้นรองเท้าป้องกันน้ำมัน

Visitors: 123,979