อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา (Face&eye Protection)
ผลิตจากวัสดุเกรด A อย่างดี มีความยืดหยุ่นสูงกว่า ออกแบบทันสมัย เพื่อการสวมใส่ที่ดูดี มีสไตล์ เหมาะสำหรับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ออกแบบให้โอบกระชับใบหน้าโดยรอบ ป้องกันเศษวัสดุจากด้านข้าง เสริมยางลดแรงกดบริเวณปลายขาแว่น มีให้เลือกมากถึง 4 แบบ มาตรฐาน ANSI Z87.1 - 2003
อุปกรณ์ป้องใบหน้า
ผู้ปฏิบัติการต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันใบหน้า (face protection)หรือ หน้ากากป้องกันใบหน้า (face shield) เมื่อทำงานกับเครื่องจักร หรือ สารเคมีอันตราย เพื่อป้องกันวัตถุหรือสารเคมีกระเด็นโดนใบหน้า ซึ่งหน้ากากที่มีกระบังหน้าใสสามารถใช้ร่วมกันกับแว่นสายตาได้
อุปกรณ์ป้องกันดวงตา
ผู้ปฏิบัติการควรสวมแว่นตาขณะทำงาน เพื่อป้องกันอนุภาคแก้วเศษเหล็กและสารเคมีเข้าตา ลักษณะของ แว่นตาที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมี 2 ประเภท คือ
- แว่นตากันฝุ่น/ลม/ไอระเหย เป็นแว่นตาที่ป้องกันตาและบริเวณรอบดวงตาจากอนุภาค ของเหลวติดเชื้อ หรือสารเคมี/ไอสารเคมี
- แว่นตานิรภัย แว่นเซฟตี้ (safety glasses) จะคล้ายกับแว่นตาปกติ แต่เลนส์ทนต่อการกระแทกและมีกรอบแว่นตาที่แข็งแรงกว่าแว่นตาทั่วไป
แว่นตานิรภัยมักมีการชี้บ่งด้วยอักษรเครื่องหมาย "Z87" ตรงกรอบแว่นตาหรือบนเลนส์
อุปกรณ์ป้องกันหน้าและดวงตา แบ่งออกเป็น 5 แบบใหญ่ ๆ คือ
1. แว่นตานิรภัย (Safety Glasses or Spectacle)
2. แว่นครอบตา (Safety Glasses)
3. หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield)
4. หน้ากากเชื่อม (Welding Helmet)
5. ครอบป้องกันใบหน้า (Hood)
ในงานเชื่อมที่ต้องใช้กระแสเชื่อมสูง จะมีแสงเชื่อมที่เข้มซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตาหากใช้กระจกดำทั่วไปในท้องตลาดแสงเชื่อมที่เข้มจะสามารถรอดผ่านออกมาเป็นแสงสีส้มทำให้แสบตา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีเลนส์กรองแสง
สำหรับหน้ากากเชื่อมบางชนิด เลนส์กรองแสงสามารถยกเปิดได้เพื่อดูชิ้นงานแล้วค่อยปิดลงเมื่อต้องการเชื่อม ปกติเลนส์กรองแสงจะต้องมีเลนส์ใสอีก 1 อัน คอยปิดไว้เพื่อกันวัตถุที่ร้อน กระเด็นมาถูกเลนส์กรองแสง
เลนส์กรองแสงที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการใช้งานจะต้องมีตัวเลขระบุความมืด หรือขนาดของเลนส์ (Shade Number) ซึ่ง Shade Number นี้ จะขึ้นอยู่กับลักษณะงาน (ตามตาราง) ฉะนั้นจึงควรเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม
ตารางแสดงลักษณะงานกับขนาดของเลนส์
ลักษณะงาน | ขนาดของเลนส์ (Shade Number) |
1.ผู้ปฏิบัติงานใกล้งานเชื่อมและตัด | 2 |
2.งานเชื่อมทองเหลือง บัดกรี | 3 - 4 |
3.งานตัดหรือเชื่อมด้วยออกซิเจนหรือก๊าซ ชิ้นงานหนา ไม่เกิน 1/8 นิ้ว | 4 – 5 |
4.งานตัดหรือเชื่อมด้วยออกซิเจนหรือก๊าซ ชิ้นงานหนา ไม่เกิน ½ นิ้ว และ งานเชื่อมไฟฟ้า น้อยกว่า 30 แอมป์ |
5 – 6 |
5.งานเชื่อมด้วยก๊าซ ชิ้นงานหนามากกกว่า ½ นิ้ว และ งานเชื่อมไฟฟ้า 30 – 75 แอมป์ | 6 – 8 |
6.งานเชื่อมไฟฟ้า 75 – 200 แอมป์ | 10 |
7.งานเชื่อมไฟฟ้า 200 – 400 แอมป์ | 12 |
8.งานเชื่อมไฟฟ้า มากกว่า 400 แอมป์ | 14 |
การบำรุงรักษาแว่นตานิรภัย แว่นครอบตา หน้ากากป้องกันใบหน้า
1. ทำความสะอาดทุกวันหลังใช้งาน
2. การทำความสะอาด
- ล้างด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอก ล้างด้วยน้ำสะอาดเช็ดด้วยผ้าที่มีเนื้อนุ่ม
- นำแว่นไปจุ่มในสารละลาย Hypochlorite เป็นเวลา 10 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรค นำขึ้นมาจากสารสะลายแล้วปล่อยให้แห้งเอง
3. นำไปเก็บไว้ในที่ ๆ สะอาดปราศจากฝุ่นพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่อ
4. ควรเก็บใส่ถุงหรือกล่องเก็บแว่น เพื่อป้องกันการเกิดรอยขีดขวน
5. ควรเป็นของส่วนตัว
การบำรุงรักษาหน้ากากเชื่อม
1. ทำความสะอาดทุกวันหลังใช้งาน
2. ถอดส่วนประกอบต่าง ๆ ล้างด้วยน้ำอุ่นและสบู่หรือผงซักฟอกอาจใช้แปรงอื่น ๆ ขัดถูเมื่อมีสิ่งสกปรกอยู่มาก
3. ล้างด้วยน้ำสะอาด
4. นำไปแขวนไว้ให้แห้ง
5. นำไปเก็บไว้ในที่ ๆ สะอาดปราศจากฝุ่นพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่อ
6. ตรวจชิ้นส่วนประกอบ เช่น สายรัดศรีษะ เลนส์กรองแสง เลนส์ใส ถ้าเกิดการชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
การบำรุงรักษาครอบป้องกันใบหน้า
1. ทำความสะอาดทุกวันหลังใช้งาน
2. ทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอก กรณีมีไส้กรองเคมี ต้องถอดไส้กรองเคมีออกก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง
3. ล้างด้วยน้ำสะอาด
4. แขวนไว้ให้แห้งเอง
5. ตรวจสอบว่า ตัวครอบหรือเลนส์มีการแตกขาดหรือไม่ ถ้าชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ทันที
6. เปลี่ยนไส้กรองเคมีทุกครั้งก่อนใช้งาน