อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ (Head Protection)
หมวกนิรภัย Safety Helmet
ชนิดของหมวกนิรภัย
ชนิด I เป็นหมวกช่วยลดแรงกระแทก บริเวณศีรษะเท่านั้น
ชนิด II เป็นหมวกที่ช่วยลดแรงกระแทก บริเวณตรงกลางหรือด้านบนศีรษะ
ประเภทของหมวกนิรภัย
1.หมวกนิรภัย ชนิดClass G ลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงต่ำ
- ต้องต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 2,200โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 1 นาที
- ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
- ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
- ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม.
ใช้ใน งานทั่วไป เช่น งานก่อสร้างโยธา งานเหมือง งานที่ไม่เสี่ยงจากแรงดันไฟฟ้าสูง
2.หมวกนิรภัย ชนิด Class E ลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง
- ต้องต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ 20,000 โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hzเป็นเวลา3นาที
- ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
- ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
- ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม.
ใช้ใน งานสายส่ง ช่างไฟ สถานีไฟฟ้าย่อย งานที่เสี่ยกับไฟฟ้าแรงดันสูงๆ
3.หมวกนิรภัย ชนิด Class C มวกนิรภัยที่ไม่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ เนื่องจากเป็นโลหะ
- ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
- ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
- ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม.
ใช้ใน งานขุดเจาะน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน แก๊ส
4.หมวกนิรภัย ชนิด Class D หมวกนิรภัยที่สามารถทนความร้อนสูงได้
- ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
- ทำด้วยพลาสติกหรือไฟเบอร์กลาส เม่อติดไฟแล้วต้องดับได้เอง
- ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
- ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม.
ใช้ใน งานดับเพลิง งานเหมือง
วิธีการดูแลรักษาหมวกนิรภัย
1.ควรตรวจสอบหมวกนิรภัยทุกครั้งก่อนใช้งาน
2.ไม่ควรนำหมวกนิรภัยที่มีรอยร้าว รอยถลอกมาใช้งาน
3.หลังจากการใช้งาน ควรทำความสะอาดหมวกนิรภัย
4.เก็บหมวกนิรภัยในสภาวะที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงแสงแดด
5.ไม่ควรใช้สารเคมีหรือสารละลายทำความสะอาด
6.อายุการใช้งานของหมวก 3-5 ปี