ชุด SCBA MSA (เครื่องช่วยหายใจ)

กฎกระทรวงการทำงานในที่อับอากาศฉบับบล่าสุด
  ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อับอากาศ พ.ศ.2562 เราได้ทราบถึงสภาพอันตรายและบรรยากาศอันตรายแล้วนั้น หมวดที่ 2 มาตรการความปลอดภัยระบุว่า

      ข้อ ๕ ให้นายจ้างจัดให้มีการประเมินสภาพอันตรายในที่อับอากาศ หากพบว่ามีสภาพอันตราย นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมสภาพอันตรายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อลูกจ้าง และให้นายจ้าง เก็บหลักฐานการดําเนินการไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ทํางาน เพื่อให้พนักงาน ตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
  และ ข้อ ๙ ให้นายจ้างดําเนินการ ดังต่อไปนี้

    (๑) จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานตามมาตรฐานที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และต้องควบคุมดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทํางานในที่อับอากาศและผู้ช่วยเหลือ สวมใส่หรือใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตนั้น

    ฉะนั้นความสำคัญของกฎกระทวงฉบับใหม่นี้จึงเป็นเรื่องการให้ความสำคัญในการทำงานอับอากาศอย่าง                                            แท้จริงซึ่งแพงโกลินเองก็ได้นำเสนอบทความเรื่องสภาพอันตรายในการทำงานในที่อับอากาศ

สามารถสอบถามรายละเอียดสินค้าได้ที่  LINE : @mastersafety
       
               

เครื่องช่วยหายใจแบบ SCBA MSA
รุ่น Air Xpress TYPE-2 มาตราฐาน EN 137 : 2006
ซึ่งมีส่วนประกอบหลักดังนี้

1. หน้ากาก (Face piece Assembly Ultra Elite) ทำด้วยยาง Black HyCar Rubber แบบจอกว้างสามารถมองไดร้อบและมีขอบยาง 2 ชั้นกันรั่วซึมด้านใน Lens ทำด้วยโพลีคาร์โบเนต (Polycarbonate) ชนิดทนทานการกัดกร่อนจากสารเคมี ชุดหน้ากากต้องเป็นชนิด ทนความร้อนสูงใช้กับงานกู้ภัย, งานผจญเพลิงและเคมี (Flame Resistant) ตามมาตราฐาน EN136, class3 ช่องมอง (Lens) ด้านนอกเคลือบผิวแข็งทั้งสองด้านเพื่อป้องกันการขีดข่วน และมีพลาสติกใส (Cover Lens) อีกหนึ่งชั้นเพื่อป้องกันช่องมอง (Lens) ตัวจริงเป็นรอย มีระบบควบคุมไม่ให้เกิดฝ้าที่ช่องมอง

2. ชุดอุปกรณ์ควบคุมกำลังอากาศ (Lung Governed Demand Valves) เป็นอุปกรณ์จ่ายอากาศชนิด Positive Pressure สามารถจ่ายอากาศได้ตามความต้องการของผู้ใช้ได้ ไม่น้อยกว่า 4 0ลิตรต่อนาที ได้ในเวลา 45 นาที และมีระบบจ่ายอากาศควบคุมแรงดันให้คงที่ (By Pass Valve) ถึงแม้การทำงานของชุดอุปกรณ์ควบคุมแรงดันทำงานผิดปรกติ โดยสามารถติดตั้งเพิ่มเติมจากชุดมาตราฐาน ชุดปรับแต่งแรงดัน (Regulator) สามารถจ่ายอากาศได้ตั้งแต่ 0-400 ลิตรต่อนาที และสามารถเลือกรุ่นที่มีจุดต่อเพื่อช่วยชีวิตบุคคลที่ 2 โดยใช้อุปกรณ์เสริม (Respihood) หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จ่ายอากาศ AirLine ติดตั้งอยู่บริเวณเอว

3. ถังอากาศ (Air Cylinder) เป็นถังอากาศชนิด (Composite) เสริมความแข็งแรงด้วยเส้ยใยสังเคราห์ และน้ำหนักถังเปล่าต้องไม่เกิน 4 Kg และใส่อากาศเต็มถังครบชุดต้องมีน้ำหนัก ไม่เกิน 10.5-11 Kg มีความจุอากาศเพียงพอสำหรับการใช้งานไม่น้อยกว่า 35-40 นาที ที่กำลังดันใช้งานที่ 300 bar ความจุอากาศไม่น้อยกว่า 6.8 ลิตร วาล์วถังมีอุปกรณ์ล็อค เพื่อป้องกันอันตรายจากการหมุนปิด ที่ถังระบุ วันเดือนปี ที่ผลิต ตามมาตราฐาน EN12245

4. ชุดอุปกรณ์สะพายหลัง (Back Plate And Harness) เป็นอุปกรณ์สำหรับติดตั้งถังอากาศรวมชุดอุกรณ์ควบคุมการจ่ายกำลังดัน 300 Bar กำลังดันสูงเป็นกำลังดันกลางที่ 7 Bar พร้อมจ่ายเช้าหน้ากากที่ความดัน 3.5 mBar ทำด้วยวัสดุทนความร้อนและปลอดสนิม (Fiber Glass Reinforced Polyamide) มีน้ำหนักเบาพร้อมทั้งออกแบบมาให้เข้ากับสรีระทางกายภาพที่ดี สายสะพายบ่าผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ ที่สามารถทนความร้อนและทนเปลวไฟได้ดี พร้อมบุนวมเพื่อเพิ่มความกระชับและอ่อนนุ่มในขณะสวมใส่ พร้อมเข็มขัดคาดเอวชนิดปลดเร็ว มีเกจวัดกำลังดันลมพร้อมอุปกรณ์เรืองแสงในที่มืดหุ้มยางกันกระแทก

5. อื่นๆ (Other) มีอุปกรณ์เตือนภัยแบบเสียงนกหวีด เมื่อเหลืออากาศใช้งานได้อีก 20-25% พร้อมเกจวัดกำลังดันอากาศของถังอากาศติดตั้งอยู่บริเวณหน้าอก มีอุปกรณ์บรรจุชุดเครื่องช่วยหายใจชนิดมือถือ (Hand Carrying Case) ทำด้วยวัสดุไม่เป็นสนิม แข็งแรงทนทาน



Visitors: 111,731